กองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลละหาน ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของทั้งสองพระองค์ เกี่ยวกับฝาย มาประยุกต์และพัฒนารูปแบบฝายให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ เป็นฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นฝายที่มีโครงสร้างอย่างง่าย ที่สร้างขึ้นเพื่อขวางทางเดินของน้ำในลำห้วย หรือร่องน้ำ โดยอาศัยรูปแบบของฝายชะลอความชุ่มชื้นตามแนวพระราชดำริ ที่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาใช้ อายุการใช้งานของฝาย จึงขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้เป็นสำคัญ โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ ๑-๓ ปี และเป็นโครงสร้างที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยวัสดุที่หาง่ายราคาถูกโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้แก่ เสาไม้ไผ่ ทราย ฯลฯ หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันสามารถสร้างโครงสร้างชั่วคราวนี้ได้ โดยเน้นความกลมกลืนของธรรมชาติในพื้นที่ สอดคล้องกับจังหวัดชัยภูมิ ได้มีนโยบายสร้างฝายมีชีวิต เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและสร้างความชุ่มชื่นให้แก่พื้นที่ตามโครงการ “ป่ารักษ์น้ำโล่ใหญ่ชัยภูมิ” โดยได้ดำเนินการสร้างฝายมีชีวิตบริเวณป่าโล่ใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ไปแล้ว ๑๑๑ ฝาย โดยสามารถเป็นต้นแบบในการขยายผลไปในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขการขาดแคลนน้ำในพื้นและอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ ตลอดจนเป็นการน้อมนำพระราชดำริไปใช้ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในในส่วนรวม
|